Social Icons

เริ่มต้นเทรด Forex





คำถามยอดฮิต
เลือกเทรดคู่เงินไหนดี?

วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

EA Forex คืออะไร

EA Forex คืออะไร


EA คือ ระบบการเทรดอัตโนมัติ หรือ Expert Advisor เป็นเครื่องมือเสริมที่ช่วยในการเทรด Forex อัตโนมัติ โดยจะมีในโปรแกรม Meta Trader 4 หรือ MT4 โปรแกรมจะทำการเทรดอัตโนมัติตามเงื่อนๆของ EA นั้นๆ โปรแกรมจำเป็นต้องรันทิ้งไว้ตลอดจนกว่าเราจะเลิกเทรด
  
เพราะฉะนั้น EA สามารถทำตามเงื่อนไขที่เราต้องการได้ โดยทางเราจะเขียนโปรแกรมให้ตามเงื่อนไขที่คุณต้องการ

หน้าตา EA




วิธีทำงานคือ EA จะทำการซื้อหรือขายตามเงื่อนไขที่อยู่ใน EA นั้นๆ โดยมันจะทำการตรวจสอบตามเงื่อนไขที่ EA ตั้งไว้

ตัวอย่างเช่น
 EA ตัวนี้มีเงื่อนไขคือ ซื้อเมื่อแท่งเทียนที่แรกเป็นแท่งเทียนสีดำ แท่งต่อไปให้ทำการ buy 
จากนั้นเมื่อเราทำการลาก EA ไปวางไว้ที่กราฟ EA ก็จะเริ่มทำงานแล้วตรวจสอบแท่งเทียนแรกว่าสีดำหรือไม่หากเป็นสีดำแท่งเทียนต่อไปก็ให้เปิด buy ประมาณนี้ครับผม

เพราะฉะนั้นผู้ที่เทรดแบบเป็นระบบอยู่แล้วก็แค่เอามาทำเป็น EA แล้วนำไปเทรดไปเลยครับ 




วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

กลยุทธ์การ Hedging Forex ใช้เพื่อลดการสูญเสียและเพิ่มผลกำไร



Hedge หรือ Hedging คืออะไร ในการเทรด forex นั้นการทำ Hedging คือวิธีการในการประกันความเสี่ยงของการลงทุน ด้วยวิธีการเปิดออเดอร์  buy และเปิดออเดอร์ sell ในคู่เงินเดียวกัน ซึ่งอาจจะทำในเวลาเดียวกันหรือไล่เลี่ยกัน ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณเทรด GBP/USD คุณเปิดทั้งออเดอร์  Buy และ Sell ไว้อย่างละ 1 ออเดอร์ โดยเปิดออเดอร์ละ 1 lot เท่ากัน ดังนั้นไม่ว่าราคาจะวิ่งไปในทิศทางใดคุณก็จะไม่มีทางได้หรือเสียเงิน ยอดรวมบัญชี Balance ของคุณจะเท่าเดิม หลักการนี้จึงถูกนำใช้ในสถานการณ์ที่คุณต้องการประกันความเสี่ยงจากความผันผวนของตลาด การเทรดผิดทางหรือถูกทางแต่กราฟย่อตัว

  ตัวอย่าง เมื่อวิเคราะห์ทิศทางของตลาดแล้วเป็นเทรนขาลงมากกว่าขึ้น จึงเปิดออเดอร์ SELL เวลา 10.00 น. แต่ปรากฎว่าราคาวิ่งขึ้นแทนจึงเปิดออเดอร์ BUY เวลา 13.00 น. เพื่อล็อกการขาดทุน จากนั้นราคาวิ่งขึ้นไปชนแนวต้านและคาดว่าไม่สามารถวิ่งผ่านขึ้นไปได้
เวลา 19.00 น. จึงปิดออเดอร์ BUY เพื่อเก็บกำไรช่วงกราฟวิ่งขึ้นแทน เหลือเฉพาะออเดอร์ SELL ที่เปิดตอนเวลา 14.00 น. เพียง 1 ออเดอร์ จากนั้นราคาวิ่งกลับลงมาตามเทรนลงตามที่วิเคราะห์ไว้ ในเวลา 23.30 น. จึงปิดออเดอร์ SELL ลักษณะแบบนี้เรียกว่า เฮดจิ้ง (Hedging)


  อธิบายการเปิดปิดออเดอร์ได้ดังนี้ครับ ผมเปิดออเดอร์  SELL GBP/USD จำนวน 0.1 ล็อต 1 ออเดอร์ จากนั้นราคากลับตัวขึ้นจึงเปิดออเดอร์ BUY GBP/USD จำนวน 0.1 ล็อต 1 ออเดอร์ เพื่อล็อกการขาดทุนของออเดอร์ SELL เมื่อกราฟวิ่งไปชนแนวต้านแล้วไม่สามารถทะลุขึ้นไปได้และมีแนวโน้มว่าจะกลับตัวลงมาตามเทรนเดิม จึงปิดออเดอร์ BUY เพื่อเก็บกำไรที่กราฟวิ่งขึ้น จากนั้นจะเหลือออเดอร์ SELL แค่ออเดอร์เดียวเท่านั้น โดยรอปิดคำสั่งอีกครั้งเมื่อได้กำไรหรือสัญญาณว่ากราฟไม่ลงต่อ เมื่อหักลบกันระหว่างออเดอร์ BUY กับ SELL การเทรดลักษณะนี้จะเหลือกำไรนิดหน่อยถ้ากราฟลงมาถึงแค่จุดที่เปิดออเดอร์ SELL หรือขาดทุนไม่มากหากว่ากราฟวิ่งลงมาไม่ถึงจุดเปิดออเดอร์ SELL แต่ถ้าการวางออเดอร์ถูกเทรนจะได้กำไรทั้งออเดอร์ BUY ที่ เฮดจิ้ง และออเดอร์ SELL ที่เปิดอันดับแรก ในภาพรวมการเทรดแบบ Hedging จะขาดทุนไม่เยอะเหมือนการตั้ง Stop loss อย่างเดียว

  สิ่งที่ต้องรู้เมื่อต้องใช้การ เฮดจิ้ง (Hedging) การเปิดคำสั่งเพิ่มเติมจะเสียค่าสเปรดมากขึ้น แต่นับว่าคุ้มค่าเพราะสามารถช่วยป้องกันความผันผวนของตลาด ซึ่งอาจเกิดจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน เช่น ก่อการร้าย การทำสงคราม เครื่องบินตก แผ่นดินไหว การเกิดสึนามิ หรือ การเลิกผูกค่าเงินสวิสกับยูโรเมื่อช่วงต้นปี 2558 ที่ผ่านมา เหตุการในครั้งนั้นสามารถทำให้บางคนรวยในพริบตาและมีบางคนบางโบรกเกอร์ถึงกับล้มละลายเลยครับ


การ Hedging กำไรก่อนข่าวสำคัญออก ถ้าข่าวทำให้กราฟวิ่งลงจะได้กำไรมากขึ้น แต่ถ้าข่าวออกมากราฟวิ่งขึ้น คำสั่ง Buy Stop จะเปิดออเดอร์ขึ้นมาเพื่อล็อกกำไรให้

เมื่อข่าวประกาศเสร็จสิ้นกราฟเฉลยออกมาปรากฎว่า กราฟวิ่งขึ้นดังรูปด้านล่าง หมายความว่าไม่ได้กำไรเพิ่มแต่ก็ไม่เสียกำไรที่ผ่านมาเช่นเดียวกัน


  การ Hedging นั้นส่วนมากสามารถทำได้ทุก โบรกเกอร์ (Broker) แต่อาจจะมีบางแห่งไม่อนุญาติให้ทำดังนั้นก่อน เปิดบัญชี ควรศึกษากฎระเบียบข้อบังคับของโบรกเกอร์นั้นๆ ให้ดีก่อนครับจะได้ไม่เสียใจในภายหลัง

Tags : Hedge , Hedging , เฮดจิ้ง
ที่มาของข้อมูล : http://www.fxworldtrade.com

วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ทฤษฎีดาว ( Dow Theory) คืออะไร

ทฤษฎีดาว (Dow Theory) ถูกคิดค้นขึ้นโดย Charles Henry Dow ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการขนานนามว่าเป็นบิดาแห่งการวิเคราะห์ทางเทคนิค เมื่อเกือบ 100 ปีที่แล้ว แต่กฏและหลักการของดาว ยังคงใช้ได้ตราบจนถึงปัจจุบัน แต่หลักการนี้มิได้พูดถึงเพียงการวิเคราะห์ทางเทคนิค หรือ การเคลื่อนที่ของราคาหุ้น แต่สิ่งนี้ถือเป็นปรัชญาของตลาดหุ้น ที่อิธิบายถึงพฤติกรรมของตลาดหุ้นที่ยังคงเหมือนเดิม เกิดขึ้นซ้ำๆ เฉกเช่นเดียวกัน เมื่อตลาดหุ้นเมื่อ 100 ปี ที่แล้ว

ดาวได้พัฒนาการวิเคราะห์ตลาดหุ้นจนเกิดทฤษฎ๊ในช่วงปลายศตวรรตที่ 19 จนกระทั่งเขาได้เสียชีวิตในปี 1902 ซึ่งเขาเป็นส่วนหนึ่งของเจ้าของและเป็นบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ The wall street journal แม้ว่าเขาไม่ได้เขียนหนังสือของตัวเองก็ตาม แต่เขาก็ได้เป็นบรรณาธิการให้กับหนังสือหลายเล่มในการการให้ความเห็นด้านการเก็งกำไรและกฎ Industrial average

หลังจากที่ดาวได้เสียชีวิตแล้ว ก็มีหนังสือที่อธิบายเกี่ยวกับทฤษฎีของเขามากมาย เช่น The ABC of stock speculation , The stock market barometer

ทฤษฎีดาว (Dow Theory)

ตลาดขาขึ้น-ขั้นที่ 1 - สะสม

ฮามิลตัน(Hamilton) กล่าวไว้ว่าในช่วงแรกของตลาดขาขึ้นมักจะไม่แตกต่างจากตลาดในช่วงขาลงแต่คนใหญ่ยังมองในแง่ลบและทำให้แรงซื้อยังคงชนะแรงขายในช่วงแรกของขาขึ้น ช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่ไม่มีใครถือหุ้นประกอบกับไม่มีข่าวดีทำให้ราคาประเมินของหลักทรัพย์ถึงจุดต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาเช่นนี้เป็นช่งงที่ผู้ที่ลงทุนอย่างฉลาดจะเริ่มสะสมหุ้นและเป็นช่วงที่ผู้ทีมีความอดทนและใจเย็นพอที่จะเห็นประโยชน์ของการเก็บหุ้นไว้จนกระทั่งราคาดีดกลับ บางครั้งหุ้นมีราคาถูกแต่กลับไม่มีใครต้องการ ช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่ วอเร็นบัฟเฟตได้กล่าวไว้ในช่วงฤดูร้อนของปี 1974 ว่าตอนนี้ได้เวลาที่จะซื้อหุ้นแล้ว แต่ก็ไม่มีใครเชื่อ ในระยะแรกของตลาดขาขึ้น ราคาหุ้นจะเริ่มเข้าใกล้จุดต่ำสุด แล้วค่อยๆยกตัวขึ้น และเป็นการเริ่มต้นของขาขึ้น หลังจากที่ตลาดยกตัวสูงขึ้นและดิ่งกลับลงมา จะมีแรงขายออกมาเป็นการบอกว่าขาลงยังไม่สิ้นสุด ในช่วงนี้เองที่จะต้องวิเคราะห์อย่างระมัดระวังว่าการปรับตัวลงมีนัยยะสำคัญหรือไม่ หาไม่มีนัยยะสำคัญ จุดต่ำสุดของการลงจะยกตัวสูงขึ้นจากจุดต่ำสุดเดิม สิ่งที่ตามมาคือตลาดตะเริ่มสะสมตัวและมีการแกว่งตัวน้อย หลังจากนั้นจึงเริ่มปรับตัวสูงขึ้นและหากราคาเคลื่อนที่ขึ้นเหนือจุดสูงสุดเดิม จะเป็นการยืนยันการเริ่มต้นของแนวโน้มขาขึ้น

ตลาดขาขึ้น -ขั้นที่ 2 -การเคลื่อนไหวครั้งยิ่งใหญ่

ขึ้นที่ 2 มักจะเป็นช่วงที่มีระยะเวลานานที่สุด และมีการปรับตัวสูงขึ้นมากที่สุด ระยะเวลานี้จะเป็นช่วงที่กิจการต่างๆกำลังเริ่มฟื้นตัวมูลค่าหลักทรัพย์จะเพิ่มขึ้น รายได้และกำไรเพิ่มขึ้นจึงก่อให้เกิดความมั่นใจมากขึ้น ช่วงนี้จึงถือว่าเป็นข่วงที่สามารถทำกำไรได้ง่ายที่สุด เพราะมีผู้เข้ามาลงทุนตามแนวโน้มของตลาดมากขึ้น

ลาดขาขึ้น -ขึ้นที่ 3 - เกินมูลค่า

ระยะที่ 3 ของตลาดขาขึ้น เป็นระยะที่มีการเก็งกำไรมากเกินไป ทำให้เกิดภาวะตลาดเฟ้อ (ดาวได้คิดทฤษฎีนี้ขึ้นมาเมื่อประมาณ 100 ปีก่อน แต่เหตการณ์เช่นนี้ยังคงเป็นเรื่องที่คุ้นเคยในปัจจุบัน) ในขั้นสุดท้ายนี้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในตลาด ค่าที่ประเมินสูงเกินไป และความมั่นใจมีมากจนเกินปกติ จึงเป็นช่วงที่เรียกได้ว่าเป็นส่วนกลับของขั้นที่ 1

ตลาดขาลง - ขั้นที่ 1 - กระจาย

เมื่อการสะสมเป็นขั้นที่ 1 ของขาขึ้น การกระจายก็คือขั้นแรกของขาลง นักลงทุนที่ฉลาดจะไหวตัวทันว่า ธุระกิจต่างๆในปัจจุบันไม่ได้ดีอย่างที่เคยคิด และเริมขายหุ้นออกแต่คนอื่นๆยังคงอยู่ในตลาดและพอใจในการซื้อที่ราคาที่สูง จึงเป็นการยากที่จะบอกว่าตลาดกำลังเข้าสู่ขาลง อย่างไรก็ตาม จุดนี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการกลับตัว เมื่อตลาดปรับตัวลง คนส่วนใหญ่ยังไม่เชื่อว่าตลาดเข้าสู่ขาลงและยังมองตลาดในแง่ดีอยู่ ดังนั้นเมื่อตลาดปรับตัวลงพอประมาณ จึงมีแรงซื้อกลับเข้ามาเล็กน้อย ฮามิลตันกล่าวว่าการกลับตัวขึ้นในช่วงขาลงนี้จะค่อยข้างรวดเร็วและรุนแรง ดังเช่นที่ฮามิลตันได้วิเคราะห์ไว้เกี่ยวกับการกลับตัวที่ไม่มีนัยยะสำคัญนี้ ว่าส่วนที่ขาดทุนไปจะได้กลับคืนมาในระยะเวลาเพียงไม่กี่วันหรือสัปดาห์ การเคลื่อนไหวที่รวดเร็วเช่นนี้เป็นการตอกย้ำว่าขาขึ้นของตลาดยังไม่สิ้นสุด อย่างไรก็ตาม จุดสูงสุดใหม่จะอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าจุดสูงสุดเดิม และหลังจากนั้น หากราคาสามารถทะลุผ่านจุดต่ำสุดเดิม นั่นเป็นการยืนยันถึงขั้นที่ 2 ของตลาดขาลง

ตลาดขาลง - ขั้นที่ 2 - การเคลื่อนไหวครั้งใหญ่

เช่นเดียวกับตลาดในขาขึ้น ขั้นที่ 2 เป็นขั้นที่มีการเปลี่ยนแปลงของราคามากที่สุด ช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่แนวโน้มเด่นชัดและกิจการต่างๆเริ่มถดถอย ประมาณการรายได้และกำไรลดลง หรืออาจขาดทุน เมื่อผลประกอบการแย่ลง แรงายจึงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ตลาดขาลง - ขั้นที่ 3 - สิ้นหวัง

ณ จุดสูงสุดของตลาดขาขึ้น ความดาดหวังมีมากจนถึงขั้นมากเกินไปในตลาดขาลงขั้นสุดท้าย ความคาดหวังทั้งหมดหายไป มูลค่าที่ประเมินต่ำมาก แต่ยังคงมีแรงขายอย่างต่อเนื่องเพราะทุกคนในตลาดพยายามจะถอนตัวออก เมื่อข่าวร้ายเกี่ยวกับธุรกิจ มุมมองทางเศรษฐกิจตกต่ำ จึงไม่มีใครต้องการซื้อ ตลาดจะยังคงลดต่ำลงจนกระทั่งข่าวร้ายทั้งหมดได้ถูกซึมซับแล้ว เมื่อราคาสะท้อนถึงผลกระทบจากเหตการณ์ไม่ดีต่างๆแล้ว วัฏจักรก็เริ่มต้นใหม่อีกครั้ง

บทสรุปของทฤษฎีดาว(Dow Theory)

จุดประสงค์ของดาวและฮามิลตัน คือ การหาจุดเริ่มต้นของแนวโน้มและสามารถจับการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ได้ พวกเขารู้ดีว่าตลาดถูกขับเคลื่อนโดยอารมณ์ของตลาดและการเกิดปฏิกิริยาเกิน (Overreaction) จริง ทั้งในด้านบวกและด้านลบ พวกเขาจึงมุ่งความสนใจไปที่การมองหาแนวโน้มในการเคลื่อนไหวไปดามแนวโน้ม แนวโน้มจะยังคงอยู่จนกระทั่งจะสามารถพิสูจน์ได้แน่ชัดถึงแนวโน้มใหม่

ทฤษฎีดาวช่วยให้นักลงทุนเรียนรู้ข้อเท็จจริง ไม่ใช่ตั้งข้อสมมติฐานและคาดการณ์ล่วงหน้า การตั้งข้อสมมติฐานเป็นสิ่งที่อันตรายสำหรับนักลงทุน เพราะการคาดเดาของตลาดเป็นเรื่องยาก ฮามิลตันเองยอมรับว่าทฤษฎีดาวนี้ไม่ได้สมบูรณ์แบบ ในขณะที่ทฤษฎีนี้สามารถใช้เป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์ ทฤษฎีนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการพัฒนาแนวทางการวิเคราะห์ของนักลงทุน

การอ่านเกมส์ตลาดเป็นศาสตร์ที่ได้จากประสบการณ์ตรงจากตลาด ดังนั้นกฏของฮามิลตันและดาวจึงมีข้อยกเว้นพวกเขามีความเชื่อว่าความสำเร็จเกิดจากการศึกษาที่จริงจังและการวิเคราะห์ที่มีทั้งความสำเร็จและความผิดพลาด ความสำเร็จเป็นสิ่งที่ดี แต่อย่าหลงระเริง ขณเดียวกัน ความผิดพลาด ถึงแม้จะเจ็บปวด แต่จะให้บทเรียนที่มีค่า การวิเคราะห์ทางเทคนคเป็นศิลปะอย่างหนึ่งซึ่งสามารถพัฒนาได้โดยการฝึกฝนเรียนรู้จากความสำเร็จและล้มเหลวด้วยการมองไปข้างหน้า

ตอนที่ 2

ทฤษฎีดาว (Dow Theory)เกิดจากการรวบรวมและเรียบเรียงข้อความจากบรรณาธิการในหนังสือพิมพ์ "The wall street journal" ซึ่ง Charles Henry Dow และเพื่อนที่เป็นหุ้นส่วนชื่อ Edward Jones เป็นผู้ก่อตั้งหนังสือพิมฉบับนั้น เมื่อปี ค.ศ. 1882 Charles Henry Dow เป็นผู้เขียนบทบรรณาธิการ เขาเป็นนักเศรษฐศาสตร์การเงิน ที่เมื่อก่อตั้งหนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าว ต้องการเขียนรายงานข่าวเศรษฐกิจการเงิน ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่มีดัชนีอะไรทั้งสิ้น ดาวจะรายงานถึงตลาดหุ้นว่าดีหรือเลวอย่างไรขึ้นหรือลงแค่ไหน ก็เป็นเรื่องยากที่จะสื่อให้ผู้อ่านได้รู้ เขาจึงคิดดัชนีตัวหนึ่งขึ้นมา โดยใช้ชื่อเขาและหุ้นส่วน เรียกว่าดัชนีดาวโจนส์ โดยใช้หุ้นชั้นนำ (bluechip) จำนวนหนึ่งมาคำนวณเป็นดัชนีไว้เป็นตัวอ้างอิง จะได้สื่อกับผู้อ่านได้ว่า วันนี้ดัชนีดาวโจนส์ขึ้นหรือลงมากน้อยเพียงใด

ปกติดาวเป็นนักวิเคราะห์การเงิน ซึ่งถ้าเป็นในสมัยนี้ก็ถือว่าเป็นนักวิเคราะห์ที่อิงปัจจัยพื้นฐาน เขาได้เขียนบทบรรณาธิการอยู่หลายปี และได้นำตัวเลขดัชนีดาวโจส์มาทำเป็นกราฟเพื่อรายงานให้ผู้อ่านได้เห็นภาพพจน์ และแล้วดาวก็ได้สังเกตการเคลื่อนที่ของดัชนีดาวโจนส์ที่ได้นำเสนอผู้อ่านเป็นกราฟ ว่ามันมีรูปแบบที่แสดงความสำพันธ์ของราคาและปริมาณการซื้อขายกับแกนวันเวลา ว่ามันมีรูปแบบ(Price Pattern) ที่คาดคะเนแนวโน้มได้ เขาจึงได้เขียนบทวิเคราะห์วิจารณ์หุ้นด้วยกราฟ จึงนับได้ว่าดาวเป็นบิดาของการวิเคราะห์ทางเทคนิคของฝ่ายตะวันตก ซึ่งก่อนหน้านี้ในประเทศญี่ปุ่นก็มีผู้ที่ใช้กราฟแท่งเทียน ( Candlestick Chart) ในการวิเคราะห์ราคาข้าวและพืชผลทางการเกษตรกันแล้ว

ต่อมาเมื่อดาวเสียชีวิตลง เพื่อนๆและแฟนประจำคอลัมน์ในของเขาได้ช่วยกันรวบรวมบทบรรณาธิการนั้นขึ้นมาใหม่ จนกลายเป็น ทฤษฎีดาว (Dow Theory)

ตามความคิดของดาวนั้น เขามองการขึ้นลงของหุ้นเปรียบเสมือนการขึ้นลงของน้ำทะเล กล่าวคือ ช่วงที่น้ำกำลังขึ้นนั้นคลื่นที่ซักเข้าหาฝั่งแต่ละลูกจะถูกขยับสูงกว่าสูงกว่าคลื่นครั้งก่อนๆ ในทางกลับกัน ช่วงที่น้ำทะเลเริ่มลดลง ลูกคลื่นที่เข้าหาฝั่งแต่ละลูกจะค่อยๆมีระดับทีี่ลดลง การเคลื่อนไหวของราคาหุ้นก็มีลักษณะเดียวกับการเคลื่อนไหวของกระแสน้ำในทะเล ตอนขาขึ้นระยะทางที่หุ้นวิ่งขึ้นจะสูงกว่าระยะทางที่หุ้นตกลง แต่ตอนขาลงระยะทางที่หุ้นตกลงจะยาวกว่าจะระยะทางที่หุ้นวิ่งขึ้น จากแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้ถูกพัฒนาเป็นลำดับ เนื่องจากวัฒนธรรมการเผยแพร่ความรู้แบบตะวันตกทำให้เกิดกลุ่มที่มีความเชื่อทางทฤษฎีนี้มากมายจนถึงทุกวันนี้ และมีผู้ที่เชื่อว่าทฤษฎีคลื่น Elliott Wave ก็เป็นทฤษฎีที่แตกสาขามาจากทฤษฎีดาว(Dow Theory)นั่นเอง เพียงแต่ ทฤษฎีคลื่น Elliott Wave ได้ขยายความละเอียดลึกลงไป จนผู้ที่ไม่ได้ศึกษาอย่างลึกซึ้งและนำความรู้ที่เพียงบางส่วนมาใช้ จะให้เกิดความผิดพลาดได้อย่างมาก


เมื่อ H= High จุดสูงสุด
L = Low จุดต่ำสุด
Dow ได้แบ่งแนวโน้มราคาหุ้นเป็น 3 ประเภทตามระยะเวลา คือ
1. แนวโน้มใหญ่ ( Primary trend ) ซึ่งเป็นแนวโน้มระยะยาว
2.แนวโน้มรอง (Secondary or Intermediate trend) ซึ่งเป็นแนวโน้มระยะกลาง
3.แนวโน้มย่อย (Minor trend ) ซึ่งเป็นแนวโน้มของราคาระยะสั้นๆ เป็นการเคลื่อนไหวของราคาประจำวัน

ทฤษฎีดาว (Dow Theory)ได้กล่าวไว้ว่า

1.แนวโน้มใหญ่ (Primary Trend)

หรือแนวโน้มระยะยาว ปกติจะใช้เวลา 1 ปี หรือ 200 วันขึ้นไปอาจจะยาวนานถึง 4 ปี

Uptrend (แนวโน้มขึ้น )

1. Low ใหม่ จะสูงกว่า Low เก่า (จุด L2 สูงกว่า L1) และ L3 ก็สูงกว่า L2 เช่นเดียวกัน
2.High ใหม่ จะสูงกว่า High เก่า ( จุด H2 สูงกว่า H1) และ H3 ก็สูงกว่า H2 เช่นเดียวกัน
3. ระยะที่ราคาหุ้นวิ่งขึ้นจะยาวกว่าระยะที่ราคาหุ้นวิ่งลง ( ระยะระหว่าง L1 ถึง H2 จะยาวกว่าระยะระหว่าง H2 ถึง L2)

ก่อนเปลี่ยนแนวโน้ม จุดต่ำสุดและสุดสูงสุดใหม่กับเก่า อาจจะอยู่ในระดับเดียวกัน



แนวโน้มลง Down Trend

1. Low ใหม่จะต่ำกว่า Low เก่า ( จุด L2 ต่ำกว่า จุด L1) และ จุด L3 ก็อยู่ต่ำกว่า L2 เช่นเดียวกัน
2. High ใหม่ จะอยู่ต่ำกว่า High เก่า ( จุด H2 อยู่ต่ำกว่า จุด H1) และ จุด H3 ต้องอยู่ต่ำกว่า H2 เช่นเดียวกัน
3.ระยะที่ราคาหุ้นวิ่งลงจะยาวกว่าระยะทางที่ราคาหุ้นวิ่งขึ้นไป ( H1L2 มากกว่า L2H2)

2.แนวโน้มรอง (Secondary หรือ Intermediate Trend)
เป็นแนวโน้มระยะกลางที่เบี่ยงเบนจากแนวโน้มใหญ่ใช้เวลาตั้งแต่ 3 สัปดาห์หรือหลายเดือน 25วัน ถึง 200 วัน แนวโน้มรองนี้รวมตัวกันแล้วก่อนให้เกิดเป็นแนวโน้มใหญ่ อันประกอบด้วยแนวโน้มรองขึ้น และแนวโน้มรองลง
ตอนหุ้นขึ้น แนวโน้มรองจะยาวกว่าแนวโน้มรองลง
ตอนหุ้นขาลง แนวโน้มรองขึ้นจะสั้นกว่าแนวโน้มรองลง

3.แนวโน้มย่อย (Minor Trend)
เป็นส่วนหนึ่งของแนวโน้มรอง เป็นการแกว่งตัวของราคาในระยะสั้นรายวัน แต่ไม่เกิน 3 สัปดาห์ ในหลักวิชาแล้วนักวิเคราะห์ถือว่าไม่มีนัยสำคัญ มองเพียงเป็นส่วนประกอบของแนวโน้มรองและแนวโน้มใหญ่เท่านั้น

ผมขอเสริมนะครับ ในส่วนนี้ ถ้าเรานำทฤษฎีนี้มาใช้กับตลาดฟอเร็ก Forex Market แนวโน้มใหญ่ที่เราควรจะมองคือ Month week แนวโน้มรองหรือแนวโน้มระยะกลาง คือ Daily แนวโน้มย่อยคือ ต่ำกว่า 4 H
พฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงแนวโน้ม

การเคลื่อนไหวของราคาหุ้นทุกๆแนวโน้มจะเป็นผลจากปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental factors) และจะปรากฏเป็นจิตวิทยามวลชน (mass psychology)ที่จะอธิบายแต่ละช่วงของแนวโน้มอันประกอบเป็นแนวโน้มใหญ่ ซึ่งแนวโน้มใหญ่มี สองชนิดคือ แนวโน้มขาลงหรือตลาดกระทิง (bull market) และแนวโน้มขาลงหรือ ตลาดหมี (bear market ) และแต่ละแนวจำแนกออกเป็น 3 ระยะ (phase) ดังนี้คือ

ตอนที่ 3

ตลาดกระทิง (Bull Market)


1. ระยะสะสมหุ้น (Accumulation Phase)
เมื่อราคาหลักทรัพย์หรือดัชนีบ่งชี้ตกต่ำถึงที่สุด เกิดเนื่องจากภาวะหุ้นตกต่ำติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จนมูลค่าซื้อขายน้อยลงมากอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ในช่วงนี้หุ้นหลายตัวจึงไม่คึกคักเพราะหาคนขายยากเนื่องจากขายหมดแล้วหรือขาดทุนมาก จึงเก็บไว้เป็นการลงทุนในระยะยาว ส่วนคนซื้อก็น้อยเพราะเข็ดเขี้ยว
ระยะนี้เป้นรอยต่อการเปลี่ยนแปลงปัจจัยพื้นฐาน (fundamental factors) ครั้งสำคัญ สภาวะการณ์ต่างๆไม่ดีไม่ว่าจะเป็นการเมืองที่อืมครึม เศรษฐกิจโดยทั่วไปไม่ดี ผลกำไรของบิษัทออกมาต่ำกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ ช่วงนี้นี่เองที่นักลงทุนมองเห็นการณ์ไกล สายป่านยาว หรือทุนหนา เริ่มเข้ามาซื้อในลักษณะสะสมหุ้นโดยไม่ซื้อไล่ขึ้น แต่จะซื้อเมื่อหุ้นปรับตัวลงมาถึงราคาเป้าหมาย (Target Price) แรงซื้อนี้ทำให้หุ้นขยับขึ้นลงเป็นครั้งคราว แต่จะไม่ต่ำกว่าราคาที่นักลงทุนจ้องซื้อ
ทุกครั้งเมื่อหุ้นตกถึงระดับนี้ เมื่อพิจารณาปัจจัยพื้นฐานไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ การเมือง หรืออื่นๆ จะเลงร้ายถึงขีดสุด จนเป็นระยะที่นักลงทุนคิดว่าไม่มีอะไรเสียหายมากกว่านี้อีกแล้ว อย่างมากก็เสียเวลารอคอยเท่านั้น เป็นโอกาสทองของนักลงทุนที่เห็นการณ์ไกลหรือนักลงทุนหน้าใหม่ จังหวะนี้นับว่าน่าลงทุนที่สุดระยะนี้เป็นระยะสุดท้ายของแนวโน้มใหญ่ขาลง (Final phase of the bear market)

2.ระยะกักตุนหุ้น (Correction Phase)
ในระยะนี้มูลค่าซื้อขายจะเริ่มเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ราคาหุ้นแต่ละตัวมีแนวโน้มขยับฐานเพิ่มสูงขึ้นทีละนิด ข่าวดีเริ่มมีให้เห็น เศรษฐกิจทั่้วไปดูดีขึ้น ผลการดำเนินการของบริษัทได้เรียกร้องความสนใจของนักลงทุน ส่งผลให้จำนวนนักลงทุนและมูลค่าการซื้อขายสูงมากขึ้นเป็นลำดับ

3. ช่วง "ตื่นทอง (Boom Phase)"
ช่วงนี้หุ้นแทบทุกตัวจะขยับขึ้นในอัตราที่สูงและติดต่อกันหลายวัน บางหุ้นขยับขึ้นไปติดเพดาน มูลค่าการซื้อขายจะสูงขึ้นหลายสิบเท่า จำนวนคนในตลาดสูงขึ้นเป็นทวีคูณ เป็นระยะที่ข่าวดีรวมทั้งข่าวลือจะประดังเข้ามาไม่ขาดระยะ ไม่ว่าเศรษฐกิจ การเงิน การเมือง ผลกำไร ของบริษัทที่คาดว่าเพิ่มขึ้น จังหวะนี้เองที่บริษัทในตลาดถือโอกาสเพิ่มทุนขนานใหญ๋ นักเก็งกำไรเข้ามามากที่สุด ในขณะที่นักลงทุนระยะยาวและกองทุนเริ่มทยอยออก เนื่องจากส่วนใหญ่เริ่มมีกำไรในอัตราที่พอใจแล้ว สื่อมวลชนเริ่มลงข่าวออกมา วิจารณ์ว่าตลาดหุ้นเป็นบ่อนการพนัน ในที่สุดช่วงนี้เองที่แนวโน้มเริ่มจะมีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางลง

ตลาดหมี (Bear Market)

1.ระยะแจกจ่าย (Distribution Phase)
เป็นระยะแรกของตลาดหมี อันเป็นช่วงที่นักลงทุนรายใหญ่ทำการแจกจ่ายหุ้นที่มีอยู่ เนื่องมาจากเห็นว่าราคาหุ้นขึ้นมากจนเกินกว่าปัจจัยพื้นฐานจะอำนวยให้ นักลงทุนทั่วไปเริ่มหวั่นไหว เพราะเห็นว่าราคาขึ้นมาสูงเกินอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล ก่อนจะเป็นตลาดหมี (Bear Market) จะมีสัญญาณเตือนโดยมีการแกว่งตัวระหว่างจุดสูงสุดและต่ำสุดห่างกันมาก ตอนราคาหุ้นหรือดัชนีตลาดสูงขึ้นแต่มูลค่าของการซื้อขายกลับลดลง แสดงว่าไปได้อีกไม่ไกล และถ้าราคาหุ้นต่ำลงในขณะที่ปริมาณการซื้อขายสูงขึ้น ก็เป็นสัญญาณเตือนภัยที่ดีให้พยายามขายลดพอร์ต (port) ลง

2.ระยะขวัญเสีย (Panic Phase)
ระยะนี้นักลงทุนรู้สึกว่าตลาดหุ้นจะไปไม่ไหว ข่าวต่างๆเริ่มออกมาทางลบ ข่าวลืมประเภทไม่ดีเริ่มแพร่หลาย เป็นเหตุให้ราคาหุ้นตกอย่างแรง คนเล่นหุ้นที่ขายตัดขาดทุน (Cut loss) ไม่ทันก็จะติดหุ้นในราคาที่สูง โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มที่ชอบเก็งกำไรราคาจะตกลงอย่างรวดเร็ว แม้แต่หุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดีก็ยังตกลงมาเหมือนกัน เพียงแต่ตกลงมาในอัตราที่ช้ากว่าเท่านั้น หลังการตกของราคาหุ้นครั้งใหญ่อาจมีการดีดตัวขึ้นของราคาหุ้น แต่เป็นการปรับตัวขึ้นชั่วคราว (Rebound) ช่วงนี้ห้ามเข้าไปซื้อเด็ดขาด ถ้ายังไม่อยากขาดทุนหนัก

3.ระยะรวบรวมกำลัง (Consolidation Phase)

ขณะที่หุ้นมีราคาต่ำมาก อาจจะต่ำกว่ามูลค่าสุทธิตามบัญชี (book value) หรือราคาพาร์ ทำให้กองทุนต่างๆเริ่มเก็บหุ้น แม้ว่าสภาวะทั่วไปยังไม่ดีขึ้นก็ตาม แต่นักลงทุนก็จะไม่ยินดียินร้ายกับข่าวลืมหรือข่าวจริง ปริมาณการซื้อขายอยู่ในระดับต่ำกว่าความเป็นจริง ระยะที่สามของแนวโน้มใหญ่ขาลงนี้คาบเกี่ยวกับระยะแรกของแนวโน้มขาใหญ่ขึ้น (accumulation)ซึ่งเกิดการประลองกำลังกันของความกล้าและความกลัวในใจของตัวเอง เพราะระยะนี้ถ้าไม่สังเกตอย่าใกล้ชิด จะวิเคราะห์ยากมากจนดูแทบไม่ออก

ในการเรียนรู้การวิเคราะห์ทางเทคนิคสำหรับผู้เริ่มต้นนั้น แนะนำว่าให้หัดมองภาพรวมของตลาดก่อนว่ามีทิศทางใด โดยใช้หลักการของทฤฤฎีดาว (Dow Theory) และพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้ม ควบคู่ไปกับการใช้ Indicators เพื่อเป็นจุดชี้วัด ยืนยันสัญญาณในการเทรด Indicators ที่แนะนำ คือ Relativa Strength Index (RSI) , MACD , Moving Average (MA) ครับ

Credit: Sakol S2M Silver Member

                                     >> สนใจที่จะสมัครเล่นหุ้นกับโบรกเกอร์ Exness คลิกเลย <<



วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2559

Swap Forex คืออะไร

Swap คืออะไร

Swap คำๆนี้อาจถือเป็นคำที่หลายๆคนที่เข้ามาทำการเทรด forex อาจไม่คุ้นเคย เพื่อให้เกิดความกระจ่างมากยิ่งขึ้น บทความนี้จะมาขยายและอธิบายความ เกี่ยวกับค่า Swap ว่ามีความหมายว่าอย่างไร และเราจะใช้ประโยชน์ หรือป้องกันในเรื่องของค่า Swap อย่างไรบ้าง ติดตามกันครับ
ค่า Swap (อ่านว่า สวอป)   คือค่าผลต่างของอัตราดอกเบี้ย overnight interest บางทีก็เรียก Rollove ตามคู่เงินที่เราเทรด โดยค่า Swap มีทั้งแบบ Debit or Credit คือมีค่าทั้ง บวก และ ลบ
ดังนั้น Swap ก็คือดอกเบี้ยที่เราจะได้หรือเสียไปให้กับโบรคเกอร์ เมื่อเราทำการเปิดออเดอร์ทิ้งไว้ข้ามคืน (ช่วงตี 4 – ตี 5 ในเวลาประเทศไทย ซึ่งก็แล้วแต่เวลาของ Server ในแต่ละโบรกเกอร์) ดังนั้น หากคุณไม่ต้องการให้มีค่า Swap ที่เป็นลบเกิดขึ้นกับคุณ ให้พึงระวังในการเปิดออเดอร์ข้ามคืน โดยเฉพาะการเปิดออเดอร์ที่มีเป็นจำนวนหลายๆสัญญา เป็นต้น

Swap คิดค่าเมื่อไหร่

คิดค่าที่ 5 PM ตามเวลาของ New York ตั้งแต่เวลาเปิดจนกระทั่งตลาดปิด คำนวณแบบวันต่อวัน ซึ่งเวลาช้ากว่าประเทศไทยประมาณ 12 ชั่วโมง โดยทุกจุดที่เข้าเราซื้อ-ขายภายในช่วงเวลาก่อน 5PM จะเกิดค่า  overnight interest
แต่ถ้าซื้อขายเวลา 5.01 PM จะถูกนับไปเป็นอีกวันหนึ่ง และค่า Swap +/- จะโชว์ขึ้นในบัญชีเทรดหลังจากเวลาปิดตลาดประมาณ 1 ชั่วโมง
อัตราค่า Swap นั้นแล้วแต่ที่โบรคเกอร์ของคุณกำหนดไว้ ส่วนใหญ่คุณจะต้องเสียค่า Swap เล็กน้อยจนถึงมาก โดยคืนวันเสาร์และอาทิตย์ไม่มีการคิดค่า Swap แต่จะไปทบในคืนวันพุธแทนซึ่งค่า Swap คืนวันพุธจะมีค่าเป็น 3 เท่าของค่า Swap ปกติ(ซึ่งตรงนี้เองที่หลายคนพลาดแล้วรู้สึกไม่แฟร์) เนื่องจากเป็นการรวบยอดจากคืนวันเสาร์-อาทิตย์มารวมไว้ด้วย

ตัวอย่างค่า Swap

Swap คิดอย่างไร

ค่า Swap คิดจากอัตราดอกเบี้ยของคู่เงินนั้น ๆ เช่น เราเล่นคู่เงิน GbpUsd (เงินปอนด์อังกฤษและเงินดอลลาร์สหรัฐ) โดยปัจจุบัน เงินปอนด์ มีอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 1.25% (เป็นอัตราดอกเบี้ยต่อปี ดังนั้นความเป็นจริงเราอาจจะไม่เสียหรือได้เยอะขนาดนั้น)  และ เงินดอลลาร์มีอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 0.50% หากเรากำลังถือ Order
buy (เข้าไปถือค่าเงินปอนด์) ดังนั้นเมื่อคิดค่า Swap แล้ว 1.25 – 0.50 = 0.75
ดังนั้นหากเราถือ buy ข้ามคืนหรือข้ามสัปดาห์ เราจะได้อัตราดอกเบี้ยในส่วนนี้ด้วย ในทางกลับกัน หากเราถือ Order Sell เมื่อคิดค่า Swap 0.50 – 1.25 = -0.75
ดังนั้นหากเราถือ Sell ข้ามคืนหรือข้ามสัปดาห์ เราจะต้องเสียส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยในส่วนนี้ด้วยครับ
ส่วนการเข้าไปดู Swap สามารถเข้าไปดูได้ที่ MT 4 -> เลือก Market Watch -> คลิกขวา เลือก Symbols -> เลือกสกุลเงิน -> กดปุ่ม Properties โปรแกรมจะแสดงค่า Swap Long ซึ่งเป็นค่า Swap สำหรับคำสั่งซื้อ ส่วน Swap Short คือค่า Swap สำหรับคำสั่งขาย และมีหน่วยเป็น pip
ค่า Swap เป็นบวกจะหมายความว่าเราจะได้กำไรเมื่อเปิดออเดอร์ทิ้งไว้ข้ามคืน ถ้าค่า Swap เป็นลบจะหมายความว่าเราจะขาดทุนเมื่อเปิดออเดอร์ทิ้งไว้ข้ามคืน
แต่ก็มีบางโบรกเกอร์ที่ไม่คิดค่า Swap แต่ก็อย่าไว้ใจ เขาอาจไปคิดอย่างอื่น ส่วนมากเราไม่ค่อยทันเกมของโบรกหรอกครับ T_T

ประโยชน์ของค่า Swap

  1. ค่า Swap นี้ถือถ้าในจังหวะที่ค่าเงินผันผวนและมีมูลค่าที่สูงขึ้น คุณก็จะได้ประโยชน์จากมันในรูปแบบของอัตราดอกเบี้ย แต่ว่าไม่มากนัก ซึ่งแน่นอนว่าเงินฝากที่มีมากขึ้นย่อมส่งผลต่อจำนวนเงินที่มากขึ้นด้วยเช่นกัน
  2. นำมาประยุกต์ใช้ในการทำกำไรโดยการ carry trade ซึ่งหมายถึง การดำเนินการดีลที่ตรงข้ามสองดีลพร้อมกันด้วยมูลค่าในวันที่ต่างกัน หนึ่งในดีลปิดตำเเหน่งที่เปิดอยู่เเล้วและอีกดีลเปิดทันทีพร้อมกัน เป็นการรวมสองดีลด้วยจำนวนเงินที่เท่ากัน ซึ่งกลยุทธ์นี้จะใช้งานได้ดีกับคู่สกุลเงินที่มีอัตราดอกเบี้ยต่างกันสูงสุด ตัวอย่างเช่น NZD/JPY, AUD/JPY เป็นต้น
  3. ใช้หลักแนวคิดถือ Order buy ข้ามคืน ทำกำไรจากดอกเบี้ย ลักษณะคล้ายๆ กับฝากเงินในธนาคาร ซึ่งมีข้อดีคือจะได้ดอกเบี้ยแบบข้ามคืนครับ


โทษของค่า Swap

โดยทฤษฏีแล้ว Swap มีทั้งบวก ทั้งลบ คือถ้าเราถือ ออเดอร์ Sell ข้ามคืนจะเสียSwap แต่ถ้าถือออเดอร์ Buy ข้ามคืน ก็จะได้ Swap ส่วนอัตราที่ได้กับเสีย ก็แล้วแต่โบรกเกอร์จะกำหนดและแจ้งไว้ โดยส่วนมากโบรกเกอร์ก็จะขอกินค่า swap หน่อย คือถ้าเราเสีย swap โบรกก็จะเก็บเยอะ แต่ถ้าเราได้ swap โบรกก็จะจ่ายน้อยกว่า
ซึ่งโดยปกติแล้ว Swap จะน้อยจนเราไม่ใส่ใจกัน แต่ถ้าโดนคืนวันพุธ จะโดนหนักหน่อย เพราะเขาจะยกเอา Swap ของวันเสาร์กับอาทิตย์ มาคิดรวมไว้ในคืนวันพุธเป็นหลักการการคิดล่วงหน้าในวันหยุด ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการถือออเดอร์ Sell ข้ามคืนในคืนวันพุธนะครับ และขณะเดียวกัน วิธีคิดล่วงหน้าหลายเท่านี้ อาจจะถูกนำไปใช้ในวันหยุดนักขัตฤกษ์ด้วยก็ได้ ซึ่งตรงนี้ควรจะเปิดศึกษารายละเอียดในแต่ละโบรกเกอร์ให้ดีครับ

Swap กับการเทรด Forex

สุดท้ายเลยคือ ค่า Swap กับการเทรด อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าค่า Swap นั้นถือเป็นค่าที่เป็นดอกเบี้ยที่เพิ่มหรือลดเข้ามาในบัญชี จนคุณนั้นอาจตกใจว่ามันคือเงินอะไรหรือว่ามันคือค่าของอะไรกันแน่ ดังนั้น หัวใจที่สำคัญที่สุดของเรื่องนี้คือ การอย่าถือเงินข้ามวันนั้นเอง
จริงๆแล้วเมื่อคุณเริ่มต้นทำการเทรดกับ forex คุณอาจจะไม่ได้พบกับค่า Swap หรืออาจจะมองไม่เห็นหน้าตาของมันเลยล่ะครับ เว้นเสียแต่ว่าคุณมีการถือเงินข้ามวันหรือข้ามคืนขึ้นมา และต้องมีเงินฝากอยู่ในบัญชีค่อนข้างมากเสียด้วยนะ จึงจะสามารถมองเห็นความแตกต่างของสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาได้ และที่สำคัญที่สุดคือ มันอาจแสดงผลออกมาทั้งในส่วนของค่าที่เป็นบวก หรือค่าที่เป็นลบได้ทั้งสิ้น ทีมงาน http://www.forexthai.in.th

วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2559

Bollinger Bands คือ อะไร


Bollinger Bands

                            Bollinger bands ถูกใช้ในการวัดความผันผวนของตลาด ปกติ เครื่องมือเล็ก ๆ ตัวนี้จะบอกเราว่าตลาดเงียบ หรือว่า ตลาดคึกคัก เมื่อตลาดเงียบ เส้นทั้งสองก็จะเบียดแคบเข้ามา เมื่อตลาดมีความคึกคัก เส้นแต่ละเส้นก็จะห่างออกจากกัน ให้สังเกตกราฟข้างล่างเมื่อตลาดเงียบ และเมื่อเส้นทั้งสองบีบเข้าหากัน แต่เมื่อราคามีการเคลื่อนไหว เป็นขาขึ้น เส้นทั้งสองก็จะห่างออกจากกัน บางท่านอาจจะไม่รู้จัก Indicator ตัวนี้ หน้าตาตามด้านล่างครับ





การเด้งของราคาใน The Bollinger bands
อีกอย่างหนึ่งที่คุณควรจะรู้เกี่ยวกับ Bollinger Bands คือราคาจะวิ่งกลับมาหาตรงกลางของเส้น Bollinger bands เสมอ นี่เป็นแนวคิดเรื่องการเด้งของราคาใน Bollinger bands (เข้าท่าป่าว?) ในกรณีนี้ ลองมาดูที่กราฟข้างล่างนี้ คุณสามารถบอกเราได้รึเปล่าว่าราคาจะไปทิศทางใด



การใช้ Bollinger bands เมื่อมันเกิดเทรนด์


การบีบอัดของ Bollinger bands

การเกิดเทรนด์ในช่วงที่เกิดการบีบอัดของ เส้น Bollinger ก็อธิบายตัวมันเองได้ดีอยู่แล้ว เมื่อเส้น Bollinger Bands บีบอัดมาก ๆ นั่นหมายความว่า จะเกิดเทรนด์หลังจากเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น ถ้าเกิดว่ากราฟแท่งเทียนเริ่มทะลุขึ้นข้างบน เป็นไปได้ว่าจะเคลื่อนไหวขึ้นต่อเนื่อง และถ้ากราฟแท่งเทียนแตะเส้นข้างล่าง เราอาจจะทำนายได้ว่าจะเคลื่อนที่เป็นขาลงอย่างต่อเนื่อง



         มองดูกราฟข้างบน คุณจะเห็นว่า เส้น Bollinger Bands จะบีบตัวเข้าหากัน และราคาก็เริ่มที่จะแตะเส้น Bollinger Bands ด้านบน ด้วยข้อมูลเบื้องต้นนี้คุณคิดว่า ราคาจะไปในทิศทางใด?
ถ้าคุณตอบว่าขึ้น คุณคิดถูกแล้ว (ดูกราฟด้านล่าง) นี่เป็นการใช้แนวคิดการบีบอัดตัวของ Bollinger Bands ที่ถูกต้อง กลยุทธ์นี้สามารถให้คุณจับเทรนด์ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น แต่ว่าการเคลื่อนตัวของกราฟแบบนี้ก็ไม่ได้เกิดขึ้นทุกวันหรอก แต่ว่าคุณอาจจะต้องสังเกตุดูพฤติกรรมของราคา สักสองสามครั้งต่อหนึ่งสัปดาห์ ถ้าคุณเล่นที่ Time Frame 15 นาที


สรุปการใช้ Bollinger Bands

ใช้ในการวัดความผันผวนของตลาด
• ทำหน้าที่เหมือนแนวรับแนวต้าน
• การเด้งของราคาใน Bollinger Bands  กลยุทธ์ที่ใช้จะขึ้นอยู่กับว่า ราคาจะวิ่งเข้าหาจุดกึ่งกลางของ Bollinger Bands เสมอ ๆ
• คุณจะส่ง ออร์เดอร์ buy เมื่อราคาชนเส้น Bollinger Bands ที่อยู่ด้านล่าง
• คุณจะส่ง ออร์เดอร์ Sell เมื่อราคาชนเส้น Bollinger Bands ที่อยู่ด้านบน
• Best used in ranging markets
• การบีบตัวของ Bollinger bands  กลยุทธ์ที่จะใช้คือใช้ในการหาจุดทะลุแนวรับและแนวต้าน หรือการเกิด Break out
เมื่อ Bollinger Bands บีบตัว ราคาจะบอกเราว่าตลาดนั้นเงียบ และเมื่อเกิดการเบรคเอาท์ขึ้นมา เราจะเข้าเทรดในด้านที่ราคา
ได้ทะลุเส้น Bollinger bands ขึ้นไป หรือลงไป

byhttp://www.thaitalkforex.com/




                                      >> สนใจที่จะสมัครเล่นหุ้นกับโบรกเกอร์ Exness คลิกเลย <<


วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2559

Buy Stop,Buy Limit ,Sell Stop ,Sell Limit คืออะไร

การตั้ง ซื้อขายล่วงหน้าตลาด Forex (Pending Order)

          ข้อดีอีกประการหนึ่งของโปรแกรม Matatrader 4 (MT4)  เราสามารถตั้งให้โปรแกรมเปิด Order ให้เราในราคาที่เราตั้งใจที่จะเปิดได้ โดยที่เราไม่จำเป็นต้องอยู่หน้าจอ ด้วยคำสั่ง 4 คำสั่ง Buy limit, Sell limit, Buy Stop, Sell top คำสั่งเหล่านี้เหมาะมากกับท่านที่ลงทุนระยะยาว เพราะจะดูกราฟไม่บ่อยดังนั้นการตั้ง Order Pending ไว้นั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่ง
  • Buy Stop  คือ การตั้ง Buy ล่วงหน้า โดยราคาปัจจุบัน ต่ำกว่าราคาที่ตั้ง (วิ่งขึ้นไปชน pending แล้วหวังว่าจะขึ้นต่อ)
  • Buy Limit คือ การตั้งBuy ล่วงหน้า โดยราคาปัจจุบัน สูงกว่าราคาที่ตั้ง (วิ่งลงมาชน pending แล้วหวังว่าจะขึ้น)
  • Sell Stop คือ การตั้ง Sell ล่วงหน้า โดยราคาปัจจุบัน สูงกว่าราคาที่ตั้ง (วิ่งลงมาชน pending แล้วหวังว่าจะลงต่อ)
  • Sell Limit คือ การตั้ง Sell ล่วงหน้า โดยราคาปัจจุบัน ต่ำกว่าราคาที่ตั้ง (วิ่งขึ้นไปชน pending แล้วหวังว่าจะลง)
byhttp://forexhow2.com/?lesson=21

วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2559

Fakey Setup คือ อะไร




อะไรคือ Fakey Setup ?


มาตรฐาน
สวัสดีค่ะเทรดเดอร์ วันนี้เราจะมาคุยกันเรื่อง Fakey Setup หลายคนคงพอได้ยินมาบ้าง แต่บางคนก็งง มันคืออะไรหว่า มันก็คือ Price Action รูปแบบหนึ่ง เป็นคู่อริกับ Inside Bar (ที่เคยเขียนไปแล้ว) แต่อยู่ในตระกูลเดียวกัน ถ้าใครรู้จัก Inside Bar แล้ว พอมาพูดถึง Fakey Setup ก็หมูเลย  แค่ชื่อก็บอกอยู่แล้วนะคะ ว่ามันหลอกลวง ^^ Fake-y แล้วมันหลอกยังไง เรามาดูกันค่ะ
ตามปรกติ ถ้าเกิด Inside Bar เราจะรอดูตอนที่มีแท่ง Inside bar เกิดการ Breakout  ออกมาจาก Mother bar แล้วใส่ออเดอร์ตามทางที่มัน Breakout ออกมา แต่มันจะมีบางครั้งที่มีการ Breakout หลอกๆ (Fail Breakout) แล้ววิ่งกลับไปทิศทางตรงกันข้าม เราลองมาดูภาพและตัวอย่าง และเปรียบเทียบการเข้าออเดอร์อย่างง่ายๆ  ระหว่าง Inside Bar และ Fakey Setup กันค่ะ
Fakey Setup
Fakey Setup
เอาละ ทีนี้ก็รู้จักหน้าค่าตากันแล้วนะคะ ว่า Fakey Setup หลอกลวงยังไง จะใช้หลักการจำง่ายก็คือ ” Fakey Setup คือ Fail Breakout ของ Inside Bar นั่นเอง” ไม่ยากใช่มั้ยคะ ^^
ทีนี่้เราลองมาดูตัวอย่างกราฟจริงกันบ้าง
Fakey Setup
Fakey Setup
จากภาพที่ผ่านๆมา เห็นมั้ยคะว่าไม่ยากอย่างที่หลายๆคนกลัวกันเลย และมีหลักการจำง่ายๆ แค่นั้นเองค่ะ
ปล. การเทรดในตลาด Forex โดยการใช้  Fakey Setup นี้ถ้าจะให้ได้ผลดี ควรใช้กับคู่เงินที่เป็นคู่ Major ทั้งหลาย เพราะกราฟพวกนี้จะไม่ค่อยหลอก คู่ Major ก็คือ คู่เงินหลักๆที่เรานิยมเทรดกัน มักจะมีค่าเงิน USD ร่วมอยู่ด้วย เช่น EURUSD,AUDUSD,USDJPY…….
ทีนี้เราลองมาดูภาพที่มีอะไรมากกว่า Fakey Setup กันบ้างนะคะ เป็นรูปแบบที่มี หลาย Pattern ซ้อนกันอยู่ ก่อนจะมาดูตัวอย่างสุดท้ายนี้ อยากให้ทำความเข้าใจกับ Inside bar และ fakey Setup กันก่อนนะคะ เพราะไม่อย่างนั้นอาจจะงงได้ค่ะ
Complicate Fakey Setup
Complicate Fakey Setup
เป็นยังไงกันบ้างคะ จากภาพตามตัวอย่างสุดท้าย งงกันมั้ย😛 หวังว่าคงไม่งงกันนะคะ ที่เอามาให้ดูเพราะเห็นว่าน่าสนใจ เป็นการเกิด Price Action หลาย Pattern ซ้อนกัน ซึ่งถ้าดูเป็น ก็มีประโยชน์มากเลยค่ะ
หลักการง่ายๆที่จะดูให้รู้ว่าแท่งไหนเป็นอะไร ช่วงไหนแท่งเทียนทำอะไร ให้ดูตามแท่งเทียนที่จบไปทีละแท่ง แล้วก็มาดูทีละคู่ แล้ว Zoom Out ออกมาดูภาพรวม เพราะเวลากราฟวิ่งจริงๆ คุณจะไม่รู้ว่าแท่งต่อไปจะเป็นยังไงใช่มั้ยคะ จึงต้องดูไปทีละแท่งก่อนค่ะ นี่เป็นวิธีง่ายๆที่ตัวเองใช้อยู่ ใครอยากลองเอาไปปรับใช้มั่งก็ไม่หวงนะคะ ไม่มีลิขสิทธิ์ ^^ ดูบ่อยๆ สังเกตุบ่อยๆ แล้วคุณจะจับจุดมันได้เองเป็นอัตโนมัติค่ะ   
 by yokuza